วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผู้จัดทำ





จัดทำโดย






นางสาวเมธาพร  ตั้งกาญจนยืนยง  รหัสนักศึกษา 06550045
วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

16. ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร



สภาพปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร

        สภาพปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้

1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน                                              
2. ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร                       
3. ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่


แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร

                เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้

                รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนานจากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1) เสียง
2) รูปร่างหน้าตา
3) ความมั่นคงในอารมณ์
4) ความน่าเชื่อถือ
5) ความอบอุ่น
6) ความกระตือรือร้น

ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก เทคนิควิธีสังเกตการณ์สอนชั้นเรียน เป็นต้น
               ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้
          1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม
          2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น
ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย และข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร

แนวโน้มของหลักสูตร

                    ออนสไตน์ ได้สรุปไว้ว่าแนวโน้มของหลักสูตรมีดังนี้

1.การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ ความเจริญก้าวหน้าของวิดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ วีดิโอเทป คาสเสท และดิสค์สามารถนำมาสอนได้ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้และที่บ้านของนักเรียน วีดิโอทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยไม่ให้พลาดบทเรียนไปได้ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถที่จะพิมพ์วิดิทัศน์หรือภาพจากจอในรูปของภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือ รูปภาพในแบบต่างๆลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อได้
                ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและสามารถใช้ประโยชน์ได้

2.การรู้ใช้เทคโนโลยี โรงเรียนปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการใช้เทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์และหุ่นยนต์ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นหรือที่รู้จักกันว่า 3Rs

3.การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวโน้มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นความจำเป็นกับสังคมสมัยใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องจากความรู้ที่มีมากมาย การเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีผลต่อประชาชนในการประกอบอาชีพที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาใหม่ที่มีผลต่อเป้าหมายของบุคคลและสังคม การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตไม่ใช่เป็นเพียงการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น การศึกษาผู้ใหญ่จึงถูกคาดหวังเพิ่มขึ้นในปีคริสต์ศตวรรษที่ 1990

4.การศึกษานานาชาติ สังคมอเมริกันถือว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาได้มาจากประเทศต่างๆ และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ หมู่บ้านโลก(global village) กล่าวถึงมาตรฐานของการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ(อเมริกา)มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆของโลก

5.สิ่งแวดล้อมศึกษา ผลจากปัญหาต่างๆนำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่าเดิมที่มีวิชาที่เกี่ยวข้องคือธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ในยามคับขันหรือช่วงเวลาเร่งด่วน

6.การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ได้แก่โรงไฟฟ้า การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการฉายรังสี ความรู้เรื่องหลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นว่าพลังงานดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออากาศ อาหารอย่างไรกรณีที่มีการรั่วไหลจะมีผลกระทบในขอบเขตห่างไกลเพียงใด และความเข็มข้นของรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ใกล้และไกลออกไปนับพันไมล์ ดังนั้นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรโลกศึกษา

7.สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรชาวอเมริกันจะต้องได้รับความรู้จากหลักสูตรใหม่ๆ ตัวอย่างที่จัดเจนคือ นักการศึกษานำประเด็นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องที่รู้กันในชื่อว่า AIDS นำมาให้ความรู้กับผู้เรียน บรรจุเป็นเรื่องหนึ่งในหลักสูตร
8.การศึกษาต่างด้าว สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมาก มาจากครอบครัวที่เรียกว่า ยากจน เด็กที่มาจากประเทศต่างๆจะถูกตีตราว่า ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

9.ภูมิสาสตร์ย้อนกลับ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมศาสตร์ อาทิเรื่อง back to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา เรื่องราวต่างๆที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น

10.การศึกษาช่วงเกรดกลาง ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นตอนต้น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport แต่ไม่เน้น interscholastic sport ถึงว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาหลักครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนโปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง

11.การศึกษาสำคัญผู้สูงอายุ สังคมปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักการศึกษามีความเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและความคาดหวังของผู้สูงอายุ และช่วยให้มีความรักต่อผู้สูงอายุ(ทั้งพ่อแม่และปู่ย่าตายาย)ในโรงเรียนจะต้องประสมประสานผู้สูงอายุทั้งผู้ที่มีความประสงค์จะเกษียณอายุและผู้เกษียณอายุจากงานประจำมาช่วยงานในโรงเรียนในรูปแบบ อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอนและแหล่งทรัพยากรบุคคลในการเรียนรู้
12.ธุรกิจการศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงกลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโคชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว (ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษาจากผู้เรียนโดยตรง

13.การศึกษาเพื่ออนาคต จากงานเขียนของทอฟเลอร์ ที่กล่าวถึงอนาคตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถที่กำหนดขอบข่ายของการเปลี่ยนแปลงได้เลยนั้น จึงนำมาเป็นหลักการของความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง

                แนวทางหนึ่งในการเตรียมตัวผู้เรียนในอนาคตก็คือ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมหรือรายวิชาใหม่ จะถูกเรียกว่า การศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคต จะเริ่มในระดับอุดมศึกษา และมัธยมศึกษาในโอกาสต่อไป สาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าวนี้พิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถานการณ์ในสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นทั้งสององค์ประกอบที่ช่วยในการตัดใจในอนาคต โดยทั่วไปการมองอนาคตไม่ใช่ภารกิจที่เล็กๆ แต่เป็นการนำเสนออนาคตที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยปกติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำไปใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปงอย่างรวดเร็ว



หลักสูตรต้องวางแผนเพื่อการบรรลุทักษะในศตวรรษที่ 21

                ในปี 1983 สมาคมการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศ (Association for Supervision and curriculum development : ASCD)ได้เผยแพร่บทความวิจัย ของ Benjamin I. Troutman and Robert D.Palombo เรื่อง Identifying Futures Trends in Curriculum Planning โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 36 คนจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ข้อมูลที่ได้สรุปได้ว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อันเป็นผลจาก การขยายความรู้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรู้มีความเป็นศาสตร์เฉพาะการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาผลต่อหลักสูตรใน 3 ประเด็น คือ

1. ความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า
             2 .ความสมดุลระหว่างความยากลำบากในการได้มาของข้อเท็จจริงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการ
             3. เอกสารความรู้ที่ใช้เป็นแหล่งความรู้ในหลักสูตร จากขอบข่ายดังกล่าวนี้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ให้ความเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตที่มีผลต่อการวางแผนหลักสูตรมี 15 ประเด็นคือ

                           1.ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills) จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา

              2 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ (Computes and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆมีรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน การพัฒนาแผนสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในระบบโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ตั้งแต่อนุบาลถึงเกรดสิบสอง
            
                3 ความยืดหยุ่นของหลักสูตร (Curriculum Flexibility)ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์และรวดเร็วจากหลักสูตร สำหรับอนุบาลถึงเกรดสิบสอง

4 การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้ หลักสูตรได้รับการทบทวนและมีการประเมินอย่างเป็นระบบ

5 ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals)ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

6 โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล)ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้

7 การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียวโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต

  8 สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships)ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย

9 การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

10 สื่อมวลชน (Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และ การดูที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ

11 การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

12 การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach)หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

13 การพัฒนาทีมงาน (Staff Development ) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี

14 ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษาเชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน

              15 การอาชีวะและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน
     

ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรและนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลการได้มาของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆและนักพัฒนาหลักสูตรนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน กำหนดสาระเนื้อหาและผลการเรียนรู้ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้


ที่มา: https://sites.google.com/site/viewnaiyana/naew-nom-khxng-kar-phathna-hlaksutr

14-15. การประเมินหลักสูตร

            
             ความหมายของการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตรหมายถึง กระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประเมินผลของหลักสูตรรวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.  การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
3. เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
4. เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ

            จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูต


ทาบา (Taba, 1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ


           ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร

                เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1981 : 265) ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1.การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน
                2.การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด
                3.การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม
                4.การประเมินผลการสอบ
                5.การประเมินผลโครงการประเมินผล

           หลักเกณฑ์การประเมินหลักสูตร

             1. มีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอน การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปให้แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร

                2. มีการวัดที่เชื่อถือได้ โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ

                3. ข้อมูลเป็นจริงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผล ดังนั้น ข้อมูลจะต้องได้มาอย่างถูกต้องเชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรได้

                4. มีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใดแค่ไหน

                5. ประเด็นของเรื่องที่จะประเมินอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ

                6. การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ และกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
                7. การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบ และให้มีความเที่ยงตรงในการพิจารณา

                8. การประเมินผลหลักสูตรควรใช้วิธีการหลายๆวิธี

                9. มีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน

                10. ผลต่างๆที่ได้จากการประเมินควรนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดีและมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ

           ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร

1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง

                2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น

                3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง

4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ

                5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

                6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่ เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก

                7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป

           ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร

1. ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

                2. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน

                3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง

                4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา

                5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน

6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน

                7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

                8. ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร

                9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน

           ปัญหาในการประเมินหลักสูตร     

1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร การประเมินหลักสูตรมักไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบในการประเมินผล และไม่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมิน

                2. ปัญหาด้านเวลา การกำหนดเวลาไม่เหมาะสมการประเมินหลักสูตร ไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด ทำให้ได้ข้อมูลเนิ่นช้าไม่ทันต่อการนำมาปรับปรุงหลักสูตร

                3. ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการประเมินหลักสูตร คณะกรรมการประเมินหลักสูตรไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรที่จะประเมิน หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผล ทำให้ผลการประเมินที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ ขาดความละเอียดรอบคอบ ซึ่งมีผลทำให้การแก้ไขปรับปรุงปัญหาของหลักสูตรไม่ตรงประเด็น

                4. ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล ข้อมูลที่ไม่ใช้ในการประเมินไม่เที่ยงตรงเนื่องจากผู้ประเมินมีความกลัวเกี่ยวกับผลการประเมิน จึงทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงหรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี จึงให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง

5.ปัญหาด้านวิธีการประเมิน การประเมินหลักสูตรส่วนมากมาจากการประเมินในเชิงปริมาณ ทำให้ได้ข้อค้นพบที่ผิวเผินไม่ลึกซึ้ง จึงควรมีการประเมินผลที่ใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กัน เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์และมองเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

                6.ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ การประเมินหลักสูตรทั้งระบบมีการดำเนินงานน้อยมาก ส่วนมากมักจะประเมินผลเฉพาะด้าน เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านวิชาการ (Academic Achievement) เป็นหลัก ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

                7.ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการประเมินหลักสูตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

                8.ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่ได้นำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างจริงจัง


การประเมินหลักสูตรอาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่ชี้ให้เราได้ทราบว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาเป็นรูปเล่มและนำไปใช้แล้วนั้น ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด มีข้อดี ข้อบกพร่องอะไรบ้างที่ต้องแก้ไขปรับปรุง การประเมินเป็นการพิจารณาคุณค่าของหลักสูตรโดยอาศัยวิธีการต่างๆในการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง นำมาวิเคราะห์และสรุป ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป

เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในจุดมุ่งหมาย สิ่งที่จะประเมิน และวิธีการประเมิน ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง เพราะจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรมีอยู่หลายประการ สิ่งที่ควรได้รับการประเมินก็ครอบคลุมหลายองค์ประกอบ รวมทั้งรูปแบบการประเมินก็มีอยู่หลายหลาก ผลจากการประเมินหลักสูตรนั้นย่อมมีคุณประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหารและผู้ใช้หลักสูตรตลอดจนประสิทธิภาพของการศึกษา หากการประเมินกระทำอย่างเป็นระบบมีเป้าหมายและมีวิธีการที่ชัดเจนเป็นที่น่าเชื่อถือ เมื่อนำไปปรับปรุงแล้วย่อมให้หลักประกันว่าหลักสูตรมีคุณภาพดี ดังนั้น กระบวนการจัดทำการประเมินหลักสูตรจึงเป็นกระบวนการและขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำอย่างรอบคอบในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง วิธีการและขั้นตอนในการประเมินจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงทำให้ได้ผลประเมินที่ถูกต้องเที่ยงตรงเป็นจริง และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยแท้                  

ที่มา: https://sites.google.com/site/viewnaiyana/kar-pramein-hlaksutr