วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551/ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด



หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ซึ่งกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร แต่หลักสูตรเดิมมีปัญหาหลายประการ คือ ความสับสนของผู้ปฏิบัติในสถานศึกษาซึ่งส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มากเกินไป เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น การวัดผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ฯลฯหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จัดทำขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานำไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน

           


           วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

            หลักการ
           หลักสูตรใหม่มี 6 ข้อ คือ
           1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
           2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
           3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
           4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
           5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
           6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

           จุดม่งหมาย
หลักสูตรใหม่รวบเป็น 5 ข้อ คือ
           1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
           2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
           3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกก าลังกาย
           4. มีความรักชาติ มีจิตส านึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
           5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
          
           สมรรถนะของผู้เรียน

           หลักสูตรใหม่เน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ 5 ประการ คือ
                      - ความสามารถในการสื่อสาร
                      - ความสามารถในการคิด
                      - ความสามารถในการแก้ปัญหา
                      - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
                      - ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
           
           คุณลักษณะอันพึงประสงค์
           หลักสูตรเดิมไม้มีการกล่าวถึง หลักสูตรใหม่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย รักชาติศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ใฝ่เรียนรู้. อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะสถานศึกษาสามารถกำหนดลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมได้
           
           มาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ปฏิบัติได้มี คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้มี 8 กลุ่มสาระ คือ
           - ภาษาไทย           
           - คณิตศาสตร์
           - วิทยาศาสตร์
           - สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
           - สุขศึกษาและพละศึกษา
           - ศิลปะ
           - การงานและเทคโนโลยี
           - ภาษาต่างประเทศ
           มาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า ต้องการอะไร สอนอย่างไร ประเมินอย่างไร

  
           ตัวชี้วัด
           ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นตัวชี้วัด นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดการสอน เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับวัดผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดมี 2 อย่าง คือ ตัวชี้วัดชั้นปี และตัวชี้วัดช่วงชั้น

           ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป.1–ม.3 (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี)
           ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม.4- ม.6 (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนเฉพาะในระดับม. ปลาย)
           
           รหัสกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
                      ว.1.1 ป.1/2 ว.            หมายถึง วิทยาศาสตร์ 1.1 หมายถึง สาระที่ มาตรฐานข้อที่ 1
                       ป.1/2                       หมายถึง ตัวชี้วัดชั้น ป.1 ข้อที่ 2



           สาระการเรียนรู้ ในหลักสูตรใหม่ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้
คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ กำหนดให้ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ เช่นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์





           สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
                      หลักสูตรใหม่กำหนดให้มี 8 กลุ่มสาระและ 67 มาตรฐาน คือ
                      - ภาษาไทย (มี 5 สาระ 5 มาตรฐาน)
                      - คณิตศาสตร์ (มี 6 สาระ 14 มาตรฐาน)
                      - วิทยาศาสตร์ (มี 8 สาระ 13 มาตรฐาน)
                      - สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มี 5 สาระ 11 มาตรฐาน)
                      - สุขศึกษาและพลศึกษา (มี 5 สาระ 6 มาตรฐาน)
                      -  ศิลปะ (มี 3 สาระ 6 มาตรฐาน)
                      - การงานอาชีพและเทคโนโลยี (มี 4 สาระ 4 มาตรฐาน)
                      -  ภาษาต่างประเทศ (มี 4 สาระ 8 มาตรฐาน)

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 

 หลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  มีสาระสำคัญดังนี้  (กระทรวงศึกษาธิการ. 2548: 6-8)
เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ บรรลุตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัย โดยมีหลักการ ดังนี้
               3.1  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัย   ทุกประเภท
                   3.2  ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วิถีชีวิตของเด็กตามบริบทชุมชน สังคม วัฒนธรรมไทย
                  3.3 พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นกิจกรรม และกิจกรรมบูรณาการ สาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย
      3.4  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
                  3.5 ประสานความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

                 จุดหมายของการศึกษาปฐมวัย
                 จุดหมายของการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย  ความสามารถ   และความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กจบการศึกษาปฐมวัย  เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กําหนดไว้ในจุดหมาย  12  ขอ  และแต่ละช่วงวัยต้องคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กด้วย  ซึ่งจะครอบคลุมพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  ดังนี้            
                  4.1         ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
                  4.2         กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
                  4.3         มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
             4.4         มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

                  4.5         ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
                  4.6         ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
                  4.7         รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
                  4.8         อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                  4.9         ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
                  4.10       มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
                  4.11       มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
                  4.12       มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้



                 5.  คุณลักษณะตามวัย
                 คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ 3 – 5  ปี

6.  โครงสร้างของหลักสูตรการศีกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  

              ในการจัดหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรไว้ดังนี้



ที่มา: http://nnusvaheedah53g.blogspot.com/p/2546.html
http://nnusvaheedah53g.blogspot.com/p/2546.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น