วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

1. ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร และ พัฒนาการของหลักสูตร

1. ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร และ
พัฒนาการของหลักสูตร
            หลักสูตร (Curriculum) หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้

            1. หลักสูตรเป็นผลผลิตในรูปแบบ เอกสาร สื่ออิเล็คทรอนิคส์ หรือมัลติมีเดีย เป็นต้น
            2. หลักสูตรเป็นโปรแกรมการศึกษา โดยปกติเขียนในรูปแบบหลักสูตรรายวิชา การจัดลำดับของมาตรฐานในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
            3. หลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อการเรียนรู้ จะบอกจุดหมาย เนื้อหาสาระมโนทัศน์ หลักการทั่วไป และผลการเรียนรู้
            4. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน มีกิจกรรม ทั้งที่มีการวางแผนและไม่ได้วางแผนไว้
            5. หลักสูตรแฝง ไม่ได้เป็นรูปแบบหลักสูตรโดยตรง แต่จะเป็นสิ่งใดหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้เรียนเรียนรู้ที่ไม่ได้วางแผนไว้ หรือถึงแม้จะไม่ได้เป็นความคาดหวังไว้แต่เป็นไปได้

            ปริ้น (Print, 1993: 110) ให้ความเห็นว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวิชาชีพครู การศึกษาทางด้านหลักสูตรเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษาวิชาชีพครู ดังนั้น ครูจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและมีความเข้าใจในกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร เมื่อพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับหลักสูตร มีคำถามพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. สอนอะไร 2. สอนอย่างไร 3. สอนเมื่อไร และ 4. อะไรเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาอันเป็นผลจากการสอน

องค์ประกอบของหลักสูตร ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์เพราะองค์ประกอบเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ในด้านการจัดการเรียนรู้การบริหารหลักสูตรการวัดและประเมินผล การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรดังต่อไปนี้

                    ธำรง บัวศรี (2542 : 8 - 9) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรพอสรุปได้ดังนี้

1.  เป้าหมายและนโยบายการศึกษา (Education Good and Policies) หมายถึง สิ่งที่รัฐต้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา
             2.   จุดหมายของหลักสูตร (Curriculum Amis) หมายถึงผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากเรียนจบหลักสูตรไปแล้ว
            3.    รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (Type and Stucture) หมายถึง ลักษณะและแผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์
            4.    จุดประสงค์ของวิชา(Subject  objectives) หมายถึงผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนวิชานั้นแล้ว
            5.    เนื้อหา (Content)หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะและความสามารถที่ต้องการให้มี รวมทั้งประสบการณ์ที่ต้องการให้ได้รับ  ซเลอร์ และอเลกซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974 : 100) ได้กล่าวว่า องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย
1.   แผน
2.   ขอบเขตของหลักสูตร
3.   การออกแบบหลักสูตร
4.   รูปแบบการประเมินผล
5.   ระเบียบการประเมินผล


สำหรับ ไทเลอร์ (Tyler, 1950 : 1 อ้างถึงใน ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์, 2551 : 48 ) ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 4 ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้

1.    ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง
2.    เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง
3.    ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4.    ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว


ทาบา (Taba, 1962 : 422. อ้างถึงในชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์ , 2551 : 48) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ต้องประกอบด้วย

1.    จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ
2.    เนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้
3.       การประเมินผล


โบแชมป์ (Beauchamp, 1975:107. อ้างถึงในชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์, 2551 : 48) ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ประการ

1.       เนื้อหา
2.       จุดมุ่งหมาย
3.       การนำหลักสูตรไปใช้
4.       การประเมินผล

นอกจากนี้  สุมิตร  คุณานุกร (2532 : 9) ได้ให้ความเห็นว่า องค์ประกอบของหลักสูตรมีอยู่ 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1.   ความมุ่งหมาย (Objectives)
2.   เนื้อหา (Content)
3.   การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
4.   การประเมินผล(Evaluation)


               จากที่นักวิชาการได้ให้ทัศนะองค์ประกอบของหลักสูตร สรุปได้ว่า องค์ประกอบของหลักสูตร
ประกอบด้วย  จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ  การนำไปใช้ และการประเมินผล

            ประเภทของหลักสูตร
            การแบ่งประเภทของหลักสูตรเป็นการแบ่งตามแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีของ การศึกษา ประเภทของหลักสูตรออกได้เป็น 9 แบบ ดังนี้

              1. หลักสูตรรายวิชา (Subjective Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรดั้งเดิม โดยเน้น เนื้อหาสาระซึ่งลักษณะหลักสูตรแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจเนื้อหาสาระซึ่งลักษณะหลักสูตร รายวิชาจะมีลักษณะดังนี้

              1.1 เนื้อหาสาระแต่ละรายวิชาจะแยกจากกัน เช่น วิชาเลขคณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาสอนแยกออกจากกันเป็นรายวิชา
              1.2 แต่ละวิชาจะมีลําดับของเนื้อหาสาระ มีขอบเขตของความรู้ที่เรียงลําดับความ ยากง่ายและไม่เกี่ยวโยงถึงวิชาอื่นๆ
              1.3 วิชาแต่ละวิชา ไม่ได้โยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้นั้นกับการปฏิบัติใน สถานการณ์จริง
              1.4 การเลือกเนื้อหาสาระ และการจัดเนื้อหาสาระ โดยยึดคุณค่าที่มีอยู่ในตัวของ เรื่องที่สอนนั้น โดยมีแนวคิดว่าผู้เรียนสามารถนําเอาไปใช้เมื่อต้องการ

              2. หลักสูตรสหพันธ์ (Correlated Curriculum) หลักสูตรที่นําเอาเนื้อหาของวิชาอื่นที่ มีความสัมพันธ์กันมารวมเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ 2 วิชา โดยไม่ทําลาย ขอบเขตวิชาเดิม คือ ไม่ได้มีการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน เช่น การจัดเนื้อหา เน้นให้เห็น ความสัมพันธ์ ระหว่างระบบอิเล็กทรอนิกส์และโทรทัศน์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงหมูและ การปลูกพืช โดยแสดงให้เห็นแต่ละวิชาจะเสริมกันได้อย่างไร
              
                        3. หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum) เป็นการจัดหลักสูตรที่มุ่งเน้นรายวิชา โดยสร้างจากเนื้อหาวิชาที่เคยแยกสอนให้เป็นวิชาเดียวกัน แต่ยังคงรักษาเนื้อหาพื้นฐานของแต่ละวิชาไว้ หลักสูตรแบบนี้ แตกต่างจากหลักสูตรสหสัมพันธ์ที่มีบูรณาการระหว่างวิชามากกว่า คือ การสอนวิชาเหมือนสอนวิชาเดียว

                        4. หลักสูตรหมวดวิชา (Board Field Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีลักษณะ หลายหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสหสัมพันธ์และหลักสูตรแบบผสมผสาน โดยการนําเนื้อหาวิชา หลายๆ วิชา จัดเป็นวิชาทั่วไปที่ กว้างขวางขึ้น โดยเน้นถึงการรักษาคุณค่าของความรู้ที่มีเหตุผล มีระบบ เช่น มนุษย์กับเทคโนโลยีมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น

                        5. หลักสูตรวิชาแกน (Core Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน ของวิชาอื่นๆ โดยเน้นเนื้อหาด้านสังคมและหน้าที่พลเมือง เพื่อการแก้ปัญหา เช่น ประชากรและ มลภาวะ การดํารงชีวิตในเมืองและชนบท

              6. หลักสูตรที่ เน้นทักษะกระบวนการ (Process Skills Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ มุ่งให้เกิดทักษะกระบวนการ เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการในการ แก้ปัญหา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถในด้านทักษะกระบวนการดังนี้
              6.1 มีความรู้ที่สามารถนําไปใช้ได้
              6.2 ใช้กระบวนการให้เป็นสื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ
              6.3 ให้รู้ธรรมชาติของกระบวนการ

              7. หลักสูตรที่เน้นสมรรถฐาน (Competency or Performance base Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจุดมุ่งหมาย กิจกรรม การเรียนการสอน และ ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน ในการจัดหลักสูตรแบบนี้ จะต้องกําหนดความสามารถใน การปฏิบัติที่ต้องการไว้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือจุดประสงค์ ด้านความสามารถ จากนั้น ก็วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุแต่ละจุดประสงค์และมีการตรวจสอบ การปฏิบัติของผู้เรียนก่อนที่ จะผ่านไปเรียนตามจุดประสงค์ถัดไป เช่น การฝึกสอนแบบจุลภาค การสอนพิมพ์ดีด

              8. หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและปัญหาสังคม (Social Activities and Problem Curriculum) หลักสูตรแบบนี้ จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของแต่ละกลุ่ม เช่น ผู้ที่มีแนวคิดว่า หลักสูตรควรตรงกับการดํารงชีวิตในสังคมจริง ในการสร้างหลักสูตรจึงยึดรากฐานของหน้าที่ทาง สังคม หากมีแนวความคิดว่าหลักสูตรควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหา หรือเรื่องต่างๆ ของชีวิตใน สังคมชุมชน เช่น การป้องกันมลภาวะ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

              9. หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Individual Needs and Interest Curriculum) เป็นหลักสูตรที่เน้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เช่น การเน้นที่ผู้เรียน การเน้นที่ประสบการณ์ โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นตามความรู้ และความ สนใจของผู้เรียนมีความยืดหยุ่นสูง และผู้เรียนสามารถเรียนได้เป็นรายบุคคล เช่น หลักสูตรของ โรงเรียน Summer Hill ที่อังกฤษ ซึ่ง นิล (Niel 1960) สร้างขึ้น โดยทําโรงเรียนให้สอดคล้องกับ เด็ก เป็นต้น (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2546, หน้า 27-29)

ที่มา : หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ          
           http://www.kroobannok.com/blog/39838
          http://e-book.ram.edu/e-book/e/EA634/EA634-2.pdf

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น