วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

6-7. ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ


ทฤษฎีหลักสูตร

            ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein A.C. & Hunkins. F.P. 2004) อธิบายว่า ทฤษฎีหลักสูตร หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตร โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตรและเป็นแนวทางในการศึกษา การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร

            แมคไซส์
(Maccias. 1963, อ้างถึงใน Ornstein & Hunkins. 2004) ได้จัดกลุ่มทฤษฎีหลักสูตรเป็น 4 ทฤษฎี คือ
            1. ทฤษฎีหลักสูตรแบบเป็นทางการ (Formal Theory) เป็นทฤษฎีหลักสูตรที่กล่าวถึงหลักการและกฎเกณฑ์ และโครงสร้างหลักสูตรโดยทั่วไป
            2. ทฤษฎีสิ่งเกิดขึ้นกับหลักสูตร (Event Theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นและการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลักสูตรอีกด้วย
            3. ทฤษฎีการประเมินค่าหลักสูตร (Valuation Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายความเหมาะสมของหลักสูตรที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์
            4. ทฤษฎีการกระทำของมนุษย์ (Praxiological Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และพฤติกรรมที่ตามมา ตัวอย่างแนวคิดของทฤษฎีนี้อ้างอิงเกี่ยวกับวิถีทางที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จอะไรเป็นคุณค่าที่ต้องพิจารณาในการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ

            ขั้นตอนการสร้างทฤษฎี

            การสร้างทฤษฎีมีกฎพื้นฐาน 2 ประการคือ
            ประการที่ 1 การนิยามหรือการทำความชัดเจนเกี่ยวกับ คำเฉพาะ (terms)” ซึ่งคำเฉพาะมีหลักพิจารณา 2 ประเด็น คือ ถ้อยคำที่นำมาสร้างทฤษฎีต้องมีความกระจ่างชัด (Clear) และในการนนิยาต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย (Consistently)
            ประการที่ 2 การจัดหมวดหมู่ (Classifying) เป็นกิจกรรมในการสร้างทฤษฎีที่นักทฤษฎีพยายามจัดระบบระเบียบ (organize) และการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (integrate) โดยตอบคำถามว่ามีความรู้ที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง โดยเริ่มสรุปผลจากการค้นหาให้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์หรือสองตัวแปรหรือมากกว่า

            การสร้างทฤษฎีหลักสูตร

            สาระสำคัญในกระบวนการพัฒนาทฤษฎีหลักสูตรได้มาจากการศึกษาวิจัยหรือการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย
            วิธีการอุปนัย เป็นการให้เหตุผลโดยอาศัยข้อเท็จจริงแล้วสรุปออกมาเป็นกฎ
            วิธีการนิรนัย เป็นการสรุปจากหลักเกณฑ์
            การพัฒนาทฤษฎีด้วยแนวคิดนิรนัยเป็นการสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยอาศัยแนวคิดการสรุปนัยโดยทั่วไปกับเรื่องที่ต้องการอธิบายเป็นการเฉพาะ

แนวคิดทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีจอห์นสัน (Johnson’s Theory)
            จอห์นสัน (Johnson, 1967, 130) นิยามหลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้
โดยผลการเรียนรู้นี้เป็นผลสูงสุดที่เป็นไปได้ ที่เป็นความแตกต่างระหว่างทฤษฎีที่เกี่ยวกับหลักสูตรที่เป็นแบบแผนและทฤษฎีที่เป็นวิถีทางด้วยแผนที่สร้างขึ้นใช้โดยทั่วไป นักหลักสูตรไม่เพียงต้องประเชิญกับการทำความเข้าใจหรือไม่ก็การอธิบาย แต่เป็นการจัดการในปัจจุบันและสร้างการรับรองและจุดเริ่มต้นของแนวทางในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในอนาคต
            ทฤษฎีของวอล์คเกอร์ (Decker Wwalker)
            วอร์คเกอร์ให้แนวคิดกับนักหลักสูตร ด้วยคำถาม 5 ข้อ ดังนี้
            1. อะไรเป็นลักษณะเด่นสำคัญของหลักสูตร
            2. อะไรเป็นผลที่ตามมาของบุคคลและสังคมที่ได้จากลักษณะเด่นของหลักสูตร
            3. อะไรเป็นรายการที่คงที่และแปรเปลี่ยนของลักษณะหลักสูตร
            4. อะไรเป็นรายการที่คนโดยทั่วไปต้องปรับแต่งส่วนที่ดีหรือคุณค่าที่หลากหลายของลักษณะหลักสูตร
            5. อะไรเป็นชนิดหรือประเภทของหลักสูตรที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบหลักสูตรเพื่อการบรรลุจุดหมายของหลักสูตร

            ทฤษฎีของแมคโดนัลด์ (Macdonald)
            แมคโดนัลด์นิยามหลักสูตรเป็นระบบสังคม โดยอันที่จริงแล้วเป็นการสร้างแผนเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งการนิยามนี้มุ่งที่การสอนเป็นทางการ (formal teaching) และการเรียนรู้ในห้องเรียน (learning take place) การสอน (teaching) แตกต่างจากการเรียนการสอน (Instruction) และการนิยามนี้มุ่งระบบส่วนบุคคลที่ผู้สอนมีการกระทำอย่างพิถีพิถันต่อบุคคลเพื่อช่วยให้เรียนรู้ และการเรียนรู้ถูกนิยามเป็นดั่งระบบส่วนบุคคลด้วย ผู้เรียนเป็นบุคคลผู้มีส่วนร่วมในภาระงานโดยเฉพาะที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

            แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
            แบบจำลองของไทเลอร์ประกอบด้วย

           
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร โดยประกอบด้วย
                                
1.1 จุดมุ่งหมาย 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา และ 1.3 จุดมุ่งหมายของการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลด้านผู้เรียน สังคม และเนื้อหาวิชา
              2.นำข้อมูลที่ได้นั้นไปเชื่อมโยงข้อมูลกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ปรับให้เข้ากับสังคมและความต้องการของสังคม
               3.ใช้ปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร
ในการวางแผนหลักสูตรควรคำนึงถึงการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาทักษะทางด้านการคิด การศึกษาข้อมูล เจตคติที่ถูกต้องต่อสังคม ความสนใจ  และคำนึงถึงการประเมินผลการเรียนรู้

              แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวีส
              แบบจำลองของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวีส ประกอบด้วย

           
1. การกำหนดจุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา โดยต้องกำหนดจุดหมาย และกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งจุดหมายของหลักสูตรต้องครอบคลุมในสิ่งที่หลักสูตรนั้น
ต้องการพัฒนา โดยต้องพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางหลักสูตร ได้แก่ ความรู้ ผู้เรียน สังคม และ
ปัจจัยภายนอก เช่น ผลการวิจัย กฎหมาย นโยบายของรัฐ
           
2. การออกแบบหลักสูตร กำหนดโอกาสการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก ระบุวัน เวลา และวิธีการที่จะเข้าถึงการเรียนรู้นั้นๆ โดยพิจารณาเกี่ยวกับธรรมชาติของวิชา ความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคมต่างๆกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน

            3. การนำหลักสูตรไปใช้ ครูผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ จัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกใช้วิธีสอนที่จะให้เกิดการบรรลุผลการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร ผู้วางแผนหลักสูตรและผู้สอนต้องร่วมกันประเมินหลักสูตรโดยประเมินจุดเด่น จุดด้อย แผนหลักสูตร ประสิทธิผลการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เพื่อดูว่าโรงเรียนบรรลุจุดหมาย และวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยเน้นที่การประเมิน 2 ด้าน คือ 1. การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน (เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน) 2. การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ (การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร


              แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
              แบบจำลองของวิชัย วงษ์ใหญ่ ประกอบด้วย

           
1. ระบบร่างหลักสูตร: ประกอบด้วยหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น วิธีการ รูปแบบ โครงสร้าง องค์ประกอบ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์การเรียน การประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรเป็นต้น
             2. ระบบนำหลักสูตรไปใช้: ประกอบด้วย การอนุมัติหลักสูตร การวางแผนการใช้หลักสูตร
การบริหารหลักสูตร การดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียน
             3. ระบบการประเมินหลักสูตร: ประกอบด้วย การวางแผนการประเมินต่างๆ เช่น ประเมินย่อย ประเมินรวบยอด หลักสูตร เอกสารต่างๆ การสอน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานข้อมูล

            โดยมีขั้นตอนดังนี้
            
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการ โครงสร้างและออกแบบหลักสูตร
            
2. ร่างเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้และจุดประสงค์ วางแผนการสอน คำนึงถึง กลุ่ม รายวิชา และหน่วย
           
3. ทดลองใช้หลักสูตรและแก้ไขปรับปรุง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำและเสนอข้อคิดเห็น
           
4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้หลักสูตรและเผยแพร่หลักสูตร
           
5. ปฏิบัติการสอน โดยนำหลักสูตรไปใช้ในการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษา
ซึ่งควร
1. แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยจัดทำและจัดหาเอกสาร สื่อ และอุปกรณ์ในการเรียนการสอน 2. จัดเตรียมเอกสาร สื่อ อุปกรณ์ บุคลากร และการบริการต่างๆ จัดอบรมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร  3. ผู้สอนจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แผนจัดการเรียนรู้และสื่อ กิจกรรมการเรียนเป็นกลุ่มและรายบุคคล 4. การประเมินผล เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด โดยประเมินผลการเรียนรู้และประเมินผลหลักสูตร(ประเมินอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง)



การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้แบบจำลอง SU Model
จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ เมื่อนำมาประมวลผลร่วมกับการศึกษาวิจัย และประสบการณ์ในการสอนวิชาการพัฒนาหลักสูตร ในสถาบันอุดมศึกษา ได้มโนทัศน์ที่เป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังภาพประกอบ



เป็นแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย
อย่างน้อย 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (เก่ง) ด้านผู้เรียน (ดี) ด้านสังคม (มีสุข) หลักการพัฒนาหลักสูตรจากแบบจำลองนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนหลักสูตร ได้แก่ ความรู้ การปฏิบัติ และคุณลักษณะ 2) การออกแบบหลักสูตร ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การจัดหลักสูตร เพื่อนำไปปฏิบัติ บริหารและจัดการเรียนการสอน และ 4) การประเมินหลักสูตร ประเมินคุณภาพหลักสูตรและการเรียนรู้ของผู้เรียน

          จัดการเรียนการสอน และ 4) การประเมินหลักสูตร ประเมินคุณภาพหลักสูตรและการเรียนรู้ของผู้เรียน
            มีขั้นตอนดังนี้

            1. เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ หรือ โลกแห่งการศึกษาและเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัฒนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge)มุมล่างด้านซ้ายมือ แสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน (learner) เน้นคนดี และมุมล่างด้านขวามือ แสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม (Society)

            2. ระบุขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ในพื้นที่วงกลมซึ่งมีพื้นฐานหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ในที่นี้จะระบุพื้นฐาน 3 ด้าน (ปรัชญา จิตวิทยา และสังคม) ลงในช่องว่างนอกรูป โดยกำหนดให้ ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม

            3. พิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา ได้แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตร ที่มุ่งเน้นความรู้ (knowledge) มาจากพื้นฐานปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) กับ ปรัชญานิรันดรนิยม (Paraenialism) การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existialism) และ การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่เน้นสังคม(Society) มาจากพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstrctionism) เป็นต้น

            4. กำหนดจุดกึ่งกลางของด้านสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน เพื่อแทนความหมายว่า ในการพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานอย่างน้อยสามด้านนี้ (ด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม) จากนั้นลากเส้นตรงระหว่างจุดทั้งสามนี้ จะได้รูปสามเหลี่ยมเล็กๆเกิดขึ้นรวม 4 รูป

            5. พิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตร จากแนวคิดของไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ ออร์นสไตน์ และฮันกิน โอลิวา วิชัย วงษ์ใหญ่ และนักพัฒนาหลักสูตรอื่นๆ (ไม่สามารถกล่าวนามได้ทั้งหมด) นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมเล็กๆ ทั้งสี่รูป ชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นดังนี้ 1. การวางแผนหลักสูตร(curriculum planning) 2. การออกแบบหลักสูตร (curriculum design) 3. การจัดหลักสูตร (curriculum organization) และ 4. การประเมินหลักสูตร (curriculum evaluation)

ที่มา : หนังสือการพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น